รายละเอียดกระทู้
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรม
การเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม
ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสุภัทธา จริตรัมย์
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ E1 /E2 (80/80) 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานแบบ สถิติ t - test (Dependent Samples)และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นนำเสนอบทเรียน (2) ขั้นทำงานร่วมกันเป็นทีม (3) ขั้นการทดสอบย่อย (4) ขั้นการพัฒนาการตนเอง และ (5) ขั้นได้รับการยกย่อง
2. ผลการพัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีประสิทธิภาพ 81.88/82.22 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.60 ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
|