รายละเอียดกระทู้
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่องไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นายกริชเพชร บังพิมาย
ปีที่รายงาน 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่องไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ ที่ผู้ศึกษาสร้างและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ และเป็นการเพิ่มทักษะความชำนาญให้แก่ผู้เรียน ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งมีเนื้อหาแบ่งเป็น 10 ชุดการสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง 0.55 - 0.77
ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.27 – 0.55 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 3)แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ต่อกิจกรรมการเรียนการรู้โดยใช้ชุดการสอน แบบศูนย์การเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6เป็นแบบการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 10 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ที่กำลังเรียนในโรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1.ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวม 81.71/80.95 โดยมีค่า(E1) เท่ากับ 81.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 และค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E2) 80.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์ การเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ไฟฟ้าสถิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนปรือใหญ่วิทยบัลลังก์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3
|