ยินดีต้อนรับผู้ดูแลระบบโรงเรียน   
 
หัวข้อกระทู้ :
 เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ2559

ตั้งกระทู้วันที่ : 10 ก.ค. 2560
จำนวนผู้เข้าอ่าน : 18284 คน
ผู้ตั้งกระทู้ : นางศิริลักษณ์ พรมกันหา 

รายละเอียดกระทู้

 ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ

                คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
ผู้ศึกษา นางศิริลักษณ์   พรมกันหา  
ปีที่พิมพ์     2559
                                                             บทคัดย่อ
 
การศึกษาครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD  โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่องความน่าจะเป็น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 
เรื่อง  ความน่าจะเป็น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศิลาลาดวิทยา 
อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  ภาคเรียนที่ 2 
ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 16 แผน  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าความยากตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.60 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.57 ถึง 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.98  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง  ความน่าจะเป็น จำนวน 16 เล่ม ซึ่งมีผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ ในครั้งนี้  เท่ากับ  84.41/81.73  และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น เป็นแบบวัดที่ใช้มาตราการประมาณค่า (Rating scale) ชนิด 5 ตัวเลือกจำนวน 12 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test (Dependent  Sample) 
ผลการศึกษาพบว่า  1) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.41/81.73  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75   2) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์  เรื่อง ความน่าจะเป็น มีค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ  0.7228  แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 0.7228 หรือคิดเป็นร้อยละ  72.28 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยภาพรวมความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 
เรื่องความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียน รวมทั้งผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก จึงเหมาะที่ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะนำไปใช้ในการสอนและประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป 

 


โปรดอ่านข้อมูลเบื้องต้นก่อนแสดงความเห็น
1. ห้ามโพสต์ ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลอื่น
2. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าหรือหารายได้ ต่างๆโดยเด็ดขาด
3. ถ้าพบข้อความไม่เหมาะสมเราจะลบทิ้งทันทีโดยไม่แจ้งเจ้าของกระทู้ล่วงหน้า
4. ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบข้อความของตัวเองทุกข้อความ
5. หากพบข้อความ หรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่ singhapoo@hotmail.com เพื่อดำเนินการลบออกจากระบบต่อไป
ข้อความ :
โดย :
E-mail : *****กรุณาใช้ E-maill จริงเท่านั้น
คำเตือน : กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และแน่ใจว่าข้อมูลนี้ไม่ใช่ ข้อความต่อว่าให้ร้ายผู้อื่น มิฉะนั้นข้อมูลนี้จะโดนลบทิ้งทันที