รายละเอียดกระทู้
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชากฎหมายน่ารู้
โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชากฎหมายน่ารู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80 3) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนวิชากฎหมายน่ารู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 3.1)
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนวิชากฎหมายน่ารู้
โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
3.2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD วิชากฎหมายน่ารู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ 4) เพื่อประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนวิชากฎหมายน่ารู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 โรงเรียนราษีไศล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36
คน ได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นแบบแผน
Pre Experimental Design ใช้แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลัง (The One group Pretest-posttest
design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD วิชากฎหมายน่ารู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในกิจกรรมการเรียนการสอนใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้
16 ชั่วโมง จำนวน 8 แผนการจัดการเรียนรู้
ทั้งนี้มีแผนการจัดการเรียนรู้ปฐมนิเทศ 2
ชั่วโมงและแผนการจัดการเรียนรู้ปัจฉิมนิเทศ 1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 19 ชั่วโมง ตรวจสอบคุณภาพและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายข้อ
(IOC) และหาความเชื่อมั่นในการให้คะแนนด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
(Pearson Product ? Moment Coefficient
Correlation) 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิชากฎหมายน่ารู้ โดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
ค่าร้อยละ(%)ค่าเฉลี่ย (
)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)ทดสอบค่าที( t-test)
ผลการวิจัย
พบว่า องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ควรมีองค์ประกอบครบถ้วน
เริ่มจากคู่มือการใช้ ชื่อแผน มาตรฐานการเรียนรู้ สาระสำคัญ สมรรถนะของผู้เรียน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
วิธีวัดและประเมินผลมีความหลากหลาย การตรวจคำตอบ การสังเกต การทำงานกลุ่ม
การสังเกตการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน
การตอบคำถาม มีทั้งครูเป็นผู้ประเมิน
และเพื่อนประเมินเพื่อน และประเมินโดยกลุ่ม ทั้งนี้การกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลาในการเรียนรู้ และส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ จากบทความ
สถานการณ์ ข่าวสารต่างๆ เป็นการเสนอปัญหาในการสอน โดยเริ่มจากปัญหาง่ายๆ สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน
เป็นใบกิจกรรม/แบบฝึกทักษะ การจัดลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ที่ชัดเจน เอาความรู้เดิมมาประยุกต์ใช้
โดยมีความสอดคล้องกับขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ตามเกณฑ์การประเมินครอบคลุ่มชัดเจนและมีความหลากหลายที่เชื่อถือได้มีการใช้แผนการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้หรือลำดับการใช้สื่อประกอบการจัดกิจกรรมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD มีผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้
มีระดับคุณภาพความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 3.80 ? 5.00 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
0.96 มีระดับคุณภาพความเหมาะสมระดับมาก มีประสิทธิภาพเท่ากับ
84.12/83.75 เป็นที่ยอมรับได้สูงกว่าตามเกณฑ์ที่กำหนด และดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7093 คิดเป็นร้อยละ 70.93 ผลคะแนนทดสอบมีคะแนนเฉลี่ยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย (
= 4.43,S.D. = 0.70)
อยู่ในระดับดี
|