รายละเอียดกระทู้
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน
ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
โรงเรียนดงรักวิทยา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based
Learning : PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา 3) เพื่อใช้รูปแบบและศึกษาสภาพปัญหาการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based
Learning : PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning : PBL) โรงเรียน ดงรักวิทยา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่ ผู้บริหาร ครู นักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
โรงเรียนดงรักวิทยา จากการสนทนากลุ่มของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 21 คน พบว่า
การจัดการเรียนรู้ของครูส่วนใหญ่ยังเป็นลักษณะบรรยายเป็นหลัก
ครูผู้สอนขาดเทคนิค และวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิด
การแก้ปัญหา ทำให้ผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง ซึ่งผู้ร่วมสนทนาทุกคนมองว่า
ครูควรได้รับการส่งเสริม และพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้
โดยครูควรใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง 2. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning :
PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
7 ท่าน พบว่า 2.1 ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี
ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีรายข้อ มีค่า 1.00
ทุกข้อ และค่าดัชนีความสอดคล้องความเป็นไปได้ มีค่าระหว่าง 0.80
? 1.00 2.2 ความสอดคล้องของรูปแบบ
ผลการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่า 1.00 ทุกข้อ 2.3 ความเหมาะสมของรูปแบบ
ผลการตรวจสอบ พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้อง รายข้อมีค่าระหว่าง 0.80
? 1.00 2.4 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้ ผลการตรวจสอบ
พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าระหว่าง 0.80 ? 1.00 3. การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning : PBL) โรงเรียนดงรักวิทยา 3.1 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและครู
เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based
Learning : PBL)
ผู้เข้าประชุมสัมมนามีความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการประชุมสัมมนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.5 3.2 ผลการประเมินความสามารถในการดำเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning : PBL) พบว่า
ค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m
= 4.60) 3.3 ประเมินความคิดเห็นของ ครู และนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning : PBL) พบว่า
ค่าเฉลี่ย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.60) 3.4 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning : PBL) พบว่า
โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (m
= 4.60)
4. การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning : PBL) ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม
พบว่า มาตรฐานรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (m
= 4.61)
|