รายละเอียดกระทู้
ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางศิริลักษณ์ พรมกันหา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียน ศิลาลาดวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้จึงมีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนศิลาลาดวิทยา อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าความยากตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.60 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.53 ถึง 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 เล่ม ซึ่งมีผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพในครั้งนี้เท่ากับ 84.63/81.11 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบวัดที่ใช้มาตราการประมาณค่า (Rating scale) ชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 12 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.63/81.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 2) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7135 แสดงว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 71.35 3) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยภาพรวมความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียน รวมทั้งผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก จึงเหมาะที่ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จะนำไปใช้ในการสอนและประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
|