รายละเอียดกระทู้
ชื่อเรื่อง : รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน
โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อผู้วิจัย : นายธงชัย เหมเกียรติกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการ
ชำนาญการพิเศษ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลาครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัย ในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 20 คน ประกอบด้วยรองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จำนวน 19 คน 2) กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัยโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จำนวน 16 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 19 คน ประกอบด้วย 1) ครูพี่เลี้ยงที่ ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาบุคลากร เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 3 คน 2)กลุ่มครูผู้ร่วมวิจัย จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต ประเด็นสนทนากลุ่มและ แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ปรากฏผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียน ร่มโพธิ์วิทยาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่า ซีทีเออีอาร์ดี (CTAERD Model)มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ คือ การพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัย ในชั้นเรียนที่เป็นระบบสัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ความรู้ความสามารถ และทักษะที่สำคัญที่ต้องพัฒนาโดยใช้วิธีการฝึกอบรมและการลงมือปฏิบัติโดยมีครูพี่เลี้ยงให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายมีสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน และสามารถนำไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรครู และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา อำเภอ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และกระบวนการพัฒนา 6 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 Classifying : C การแบ่งระดับความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติและความต้องการ เพื่อจัดกลุ่มครู ในการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตอนที่ 2 Training: T การฝึกอบรมให้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ สำหรับครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการและปัญหา ได้แก่ 2.1 การพิจารณาความจำเป็นของการฝึกอบรม 2.2 การวางแผนฝึกอบรม 2.3 การดำเนินการฝึกอบรม 2.4 การประเมินผลการฝึกอบรม ในการประเมินผลการฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3 Action: A การปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนตามกระบวนการ ขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียนขั้นตอนที่ 4 Evaluation: E การประเมินผลการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครู ขั้นตอนที่ 5 Reflection: R การสะท้อนผลการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูไปยังตัวครู ผู้บริหาร และครูพี่เลี้ยง ขั้นที่ 6 Diffusion : D การเผยแพร่งานวิจัยในชั้นเรียน โดยดำเนินการดังนี้ 1.จัดกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยในนิทรรศการของโรงเรียน จัดทำฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและงานวิจัย 2. สร้างเครือข่ายเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ไปยังผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก และ3.นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยมีการกำกับ ติดตาม ( Monitoring )อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนเพื่อให้การปฏิบัติการวิจัยเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อันจะส่งผลให้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพในการวิจัยในชั้นเรียน การปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครู และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และองค์ประกอบด้านเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้
2. ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้อง ของการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีชื่อว่าซีทีเออีอาร์ดี (CTAERD Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า
ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 - 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 และความสอดคล้อง ของรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนมีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ที่คาดหวัง
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้ดังนี้
3.1 สมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ของผู้รับการอบรม หลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวม พบว่า การฝึกอบรมส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 1 ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาการประเมินผลการฝึกอบรมส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนเป็นรายด้าน พบว่า การประเมินด้านผลผลิต (Product) ด้านสภาวะแวดล้อม ( Context ) ด้านปัจจัยนำเข้าของการฝึกอบรม (Inputs) และด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกด้าน
3.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ครูผู้รับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน
3.3 ความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำการวิจัย โดยภาพรวม พบว่า ครูผู้รับการอบรมมีความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ข้อ คือ การตั้งชื่อเรื่อง และอยู่ในระดับมาก จำนวน 11 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก 3 ลำดับสุดท้าย โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก 3 ลำดับสุดท้าย คือ การระบุหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การระบุความเป็นมา ความสำคัญ ของปัญหา และการเลือกใช้และการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
3.4 ความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า ครูผู้ทำการวิจัยมีความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 3 ข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ การตั้งชื่อเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลและการแปลผลการวิจัย และอยู่ในระดับมาก จำนวน 12 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก 3 ลำดับสุดท้าย คือ การระบุหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การระบุความเป็นมา ความสำคัญของปัญหา และการเลือกใช้และการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
3.5 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยภาพรวม พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู อยู่ในระดับมากที่สุด ยอมรับสมมติฐาน การวิจัยข้อ 3 ที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูมีความพึงพอใจที่อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านกระบวนการนำรูปแบบ ไปใช้ ลำดับที่ 2 ด้านผลของการใช้รูปแบบ และลำดับที่ 3 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ ลำดับที่ 1 องค์ประกอบเชิงกระบวนการ แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นคัดกรอง 2) ขั้นการให้ความรู้ก่อนการพัฒนา 3) ขั้นการดำเนินการ 4) ขั้นการประเมินผลการพัฒนามีความเหมาะสม สัมพันธ์กัน ลำดับที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบมีความชัดเจนและเป็นระบบ ลำดับที่ 3 องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ มีความเหมาะสม ลำดับที่ 4 องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ และการติดตามดูแลมีความเหมาะสม และลำดับที่ 5 องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่ม พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอน ถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มากในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการนำรูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ การวิจัยในชั้นเรียนไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเงื่อนไขของครูที่มีความมุ่งมั่น จริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบในการทำงาน และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อกันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก รวมทั้งผู้บริหารมีความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูเป็นการส่งเสริมให้ครูเกิดการพัฒนาทั้งทางด้านการพัฒนาบุคลากรครู และการทำวิจัยในชั้นเรียน
3.6 ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้ทำวิจัย พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครูเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน นักเรียนมีผลการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 4 ที่กำหนดไว้ โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน นักเรียนทุกระดับชั้นทุกห้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาบุคลากรครู เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียน
|