ยินดีต้อนรับผู้ดูแลระบบโรงเรียน   
 
หัวข้อกระทู้ :
 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ตั้งกระทู้วันที่ : 04 พ.ค. 2562
จำนวนผู้เข้าอ่าน : 22177 คน
ผู้ตั้งกระทู้ : สุภัทธา จริตรัมย์ 

รายละเอียดกระทู้

 

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD

ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย                    นางสุภัทธา  จริตรัมย์

ปีที่วิจัย                 2560

 

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ E1 /E2 (80/80) 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา    ปีที่ 1/1 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานแบบ สถิติ t - test (Dependent Samples)และการวิเคราะห์เนื้อหา

 

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

                     1. ลการวิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการเตรียมการ (2) ขั้นสอน (3) ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม (4) ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ และ (5) ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม

                     2. ผลการพัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามีประสิทธิภาพ 81.88/82.22 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

                     3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                     4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา สังคมศึกษา เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมทั้ง   4 ด้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.60 ถือว่าผ่านเกณฑ์        การประเมิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


โปรดอ่านข้อมูลเบื้องต้นก่อนแสดงความเห็น
1. ห้ามโพสต์ ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สามหรือบุคคลอื่น
2. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าหรือหารายได้ ต่างๆโดยเด็ดขาด
3. ถ้าพบข้อความไม่เหมาะสมเราจะลบทิ้งทันทีโดยไม่แจ้งเจ้าของกระทู้ล่วงหน้า
4. ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบข้อความของตัวเองทุกข้อความ
5. หากพบข้อความ หรือกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่ singhapoo@hotmail.com เพื่อดำเนินการลบออกจากระบบต่อไป
ข้อความ :
โดย :
E-mail : *****กรุณาใช้ E-maill จริงเท่านั้น
คำเตือน : กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และแน่ใจว่าข้อมูลนี้ไม่ใช่ ข้อความต่อว่าให้ร้ายผู้อื่น มิฉะนั้นข้อมูลนี้จะโดนลบทิ้งทันที